วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ และอุบัติภัยธรรมชาติ

โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ ที่เกิดอุบัติเหตุระดับ ๔ ขณะที่กำลังเขียนยังอยู่ระดับ ๔

ยังนับว่า โชคดี ที่แม้ความรุนแรงที่ปรากฏให้เห็น แต่ระดับของ INES นั้นก็ยังคงทรงอยู่ และ ขยับมาเพียง ระดับ 5 เท่านั้นเอง บางท่านอาจสงสัย หรือ ป่านนี้อาจจะหาความรู้เรื่อง INES ได้แล้วก็เป็นได้ ก็ยังคงขอเริ่มที่ INES กันก่อน เอกสารที่แนบมาให้นี้ นำมาจาก IAEA โดยที่เขาแบ่งระดับเอาไว้เพียง สาม (๓) ระดับเท่านั้น คือ ระดับ ๐ กับอีก ๒ กลุ่ม โดยแบ่งจากความรุนแรงน้อยไปหามาก ดังนี้
  1. incident
  2. accident
โดยกำหนดเอาว่า ถ้ามีคนตาย อย่างน้อย ๑ คน จึงจะถือว่าเป็น accident

บางท่าน อาจจะสงสัยว่า เจ้าระดับ ๐ นี่ มันมีมาทำไม ก็เพียงแต่ขอให้คิดเอาง่ายๆว่า เบื้องต้น ขอให้นึกกันว่า การทำงาน ถือเอาว่า ทำงานปกติทั่วๆไป กับ การทำงานในสภาพ ผิดปกติ ที่ต้องมีกฏ ระเบียบ มาตรการกำกับควบคุม เข้มข้นขึ้น

ระดับ ๐ คือเส้นแบ่งระหว่าง การทำงานในสภาพปกติ และ การทำงานในสภาพผิดปกติ

การจำแนกสถานะนี้ สำคัญมาก เพราะในสถานะผิดปกติ หรือ สภาพการทำงานที่ผิดปกตินั้น สายการบังคับบัญชา จะเปลี่ยนไปแทบหมดจากเดิมโดยสิ้นเชิง และการกำหนด ภาวะ ปกติ/ไม่ปกติ นี้ ต้องรัฐเท่านั้น เป็นผู้กำหนด และ รัฐเอง ก็ต้องได้รับแจ้งเหตุมาก่อนแล้วเท่านั้น จึงจะกำหนดและ ประกาศภาวะนี้ขึ้นมา

ส่วนที่ว่า รัฐ จะมอบหมายให้ ใคร เป็นผู้บริหารเหตุการณ์ หรือ บริหารภาวะผิดปกติ นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ ความรับผิดชอบต้องตกอยู่กับรัฐ จะบ่ายเบี่ยงไปไม่ได้

อ้อๆๆ รัฐ ในที่นี้หมายถึง member states ที่เป็นสมาชิกของ IAEA น่ะคร้าบบบ

เหตุ และการแจ้งเหตุ จึงสำคัญมาก

INES ระดับ incident นั้น ภาษาไทย เขาใช้คำว่า เหตุขัดข้อง ส่วน ระดับ accident นั้น ใช้คำว่า อุบัติเหตุ ความแตกต่าง เอากันแบบชาวบ้านๆ น่ะว่า ถ้าเป็น เหตุขัดข้อง ก็หมายเอาว่า ยังพอแก้ไขให้การทำงาน สามารถเกิดขึ้นได้ต่อไป แต่ถ้าเป็น อุบัติเหตุ นั่นก็ต้องมี การระงับเหตุมาประกอบด้วยยยย นอกจากว่า มีความสูญเสียเกิดขึ้นแล้ว

ความรุนแรงนั้น เพิ่มขึ้นเป็น ๑๐ เท่า เมื่อ scale เพิ่มไป ๑ ระดับ

ขอบข่ายความเสียหาย ระดับ ๔ นั้นยังคงจำกัดยู่แต่ใน แหล่งนั้นๆ ฟุ้งกระจาย ขยายวงกว้าง จนกระทั่งระดับ ๗ ที่ ตัวอย่างที่เห็นคือ เฌอโณบิล ตัวอย่าง ที่เพิ่งได้มา ลองๆไปอ่านเอาเองน่ะครับ หากสงสัยประการใด โปรดถามมาได้

รูปข้างๆนี้ ก็เพิ่งได้มาด้วยเช่นกัน นานๆ มาดูที ก็สับสน แต่ก็ให้ดูตรงที่วงแดงๆเอาไว้ด้านขวาของรูปนั้นเอาเป็นหลักก็แล้วกัน น่ะ

เอากันง่ายๆ แบบชาวบ้านๆน่ะ ไม่ชอบวิชาการ เพราะการให้คำจัดกัดความ หรือ ให้ความหมาย หรือใช้คำไทย นั้น บอกได้ว่า เอือมระอา ก็แค่คำว่า air conditioner เรายังใช้ว่า เครื่องปรับอากาศ และหลักในการ ใช้ภาษาไทยกับภาษาต่างประเทศคือ ถ้าว่ามีคำไหนใช้อยู่แล้ว ให้เอามาใช้ด้วย แล้ว ทำไมคำว่า conditioning ถึงได้ใช้เป็น การแปรสภาพ ไปซะงั้น

อ้าว เอามาบ่นปนกันได้ไงเนี่ย
ซุมาเต้อะ เจ๊าาาาา

ไม่มีความคิดเห็น: