วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

site selection criteria for nuclear facilities:- repository

ขอร่ายสักพอประมาณกับเรื่องของการ siting ก่อนที่มันจะสลายตัวไป

รัฐ หรือ ประเทศ ที่ต้องการทิ้งกากกัมมันตรังสีนั้น เขาต้องรู้ หรือ ทำให้รู้ให้ได้ในหลายๆเรื่อง ที่พอประมวลลงมาได้สั้นๆให้พอเข้าใจในเบื้องต้นก้มี

  1. ชี้ชัดลงไปว่าใครคือผู้ใช้สารรังสี และ อยู่ที่ไหนมั่งทั่วประเทศเนี่ย
  2. กำหนดลักษณะของกากกัมมันตรังสีมาให้ซัดๆเลยว่ามีคุณลักษณะ คุณสมบัติอะไรบ้าง ตัวอย่างก็ เช่น
    • ปริมาตรทั้งหมดของกากของแข็งที่เกิดขึ้น จากผู้ก่อให้เกิดกากฯทุกราย
    • กัมมันตภาพรังสี ของสารรังสีที่มี
    • คุณลักษณะ/คุณสมบัติของวัสดุที่มิใช่สารรังสี รวมทั้งสัดส่วนที่สามารถเผาได้ ไม่สามารถเผาได้ ด้วย
  3. สร้างกฏเกณฑ์การยอมรับกากฯมาสำหรับบริการขึ้นมา
  4. กำหนดหลักเกณฑ์ หรือ เงื่อนไข หรือสภาวะวิกฤติว่าจะเอา/ไม่เอา ซึ่งการคัดเลือกสถานที่ทิ้งกากฯขึ้นมา ซึ่งก็พอบอกได้กว้างๆไว้เลยว่า มี
    • rejection criteria
    • technical performance criteria
    • economic criteria
    เหล่านี้ เป็นต้น
  5. ระบุพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับใช้เป้นที่ทิ้งกากฯมาสัก ๕ แหล่ง
  6. ดำเนินการ คัดกรอง คัดสรรค์(ตามสมัยนิยม) จากข้อ 4.1 นั้น เพื่อ ลบออก พื้นที่ที่ไม่ต้องการใช้งาน
  7. กระทำการจัดอันดับพื้นที่ที่เหลือ ตามข้อ 4.2 นั้น ทำให้เรา เอาเข้ามา ซึ่งพื้นที่ที่ต้องการ และ คัดออก ซึ่งพื้นที่ที่ไม่ต้องการออกไป
  8. กระทำการจัดอันดับ เป็นครั้งสุดท้ายกับพื้นที่ที่เหลือ หรือ พื้นที่ที่เป้นผลลัพธ์จากข้อที่แล้ว อันจะนำมาซึ่ง พื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับทิ้งกากฯ สักประมาณ ๑-๒ แหล่ง
  9. กำหนด(ร่าง)การออกแบบ สำหรับใช้เป้น repository และ
  10. ตระเตรียมงานเอกสาร งานที่น่าเบื่อ เพราะมันคือ safety report ที่คนอ่านแต่ไม่ได้ทำ เอาแต่ถามถามถามๆๆ

งานหลักๆก็มีประมาณนี้ เอากันง่ายๆพื้นๆก่อนแค่นี้ หากท่านเห้นว่ารายละเอียดมากกว่านี้เป็นที่ต้องการ ก็เชิญมาพบปะกันเป็นการส่วนตัวได้

เรามาดูกันต่อไปว่า กฏเกณฑ์ หรือบรรทัดฐาน การคัดเลือกสถานที่ทิ้งกากฯที่ประกอบไปด้วย ๓ เรื่องที่ยกมา ข้างบนนั้นแต่ละเรื่อง แต่ละข้อมีสาระสำคัญอะไรบ้าง

  • บรรทัดฐานสำหรับ ลบออก/คัดออก/ตัดทิ้ง
    1. geology ไม่รวมพื้นที่ที่เป็น soil liquefaction, subsidence, undermined area, highly porous rocks, carboniceous rocks, karstic formations
    2. hydrogeology ไม่รวมพื้นที่ที่ ground water table สูงกว่า ๘-๑๐ เมตรจากระดับพื้นผิว ไม่รวมพื้นที่ที่มีน้ำใต้ดินสำหรับใช้ดื่มกิน
    3. hydrology ไม่รวมพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำ ห่างน้อยกว่า ๑ กิโลเมตร รวมทั้งพื้นที่ที่น้ำท่วมถึงได้ด้วย
    4. seismology ยกเว้น หรือ ไม่รวมพื้นที่ที่มีกิจกรรมการเขย่าพื้นผิวโลก ที่มีความแรงสูงๆ วัดด้วยหน่วย MCS ได้เกิน ๘ หน่วย
    5. อื่นๆ
  • บรรทัดฐานสำหรับพิจารณาประกอบการดำเนินงาน และ
    1. Topography หลีกเลี่ยงพื้นที่โคก หรือ เนินที่มีความลาดชันสูงกว่า หรือ มกากว่า ๕ องศา
    2. Geology มาอีกแล้ว แต่ในงวดนี้ ให้หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่ไม่สามารถขุดเจาะได้ หลีกเลี่ยงพื้นที่ซึ่งหินพื้นฐานสูงมากว่า ๘-๑๐ เมตรจากพื้นผิว เลือกแหล่งที่มีดินเหนียวไว้ก่อน เพราะดินพวกนี้มีคุณสมบัติจับ หน่วงสารต่างๆไว้ในเนื้อดิน
    3. อื่นๆ เช่นพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า หรือ น้ำใช้ส่งเข้าไปได้โดยสะดวกเหล่านี้เป้นต้น
  • บรรทัดฐานสำหรับประกอบการพิจารณาด้านเศรษกิจ สังคม การเมือง อื่นๆ(อันหลังนี่ ว่ามาเอง และออกจะมากไป แต่ชอบที่จะเขียน)
    1. ราคาค่าที่ดิน ให้เลือกจากสถานที่ราคาไม่สูงไว้ก่อน ข้อนี้แม้จะชัดเจน แต่ก็ต้องระบุไว้
    2. ระยะทาง ให้คำนวณค่าขนส่ง ค่าก่อสร้างถนน หรือเส้นทางขนส่ง ค่าใช้จ่ายสำหรับไฟฟ้า/น้ำใช้
    3. กำลังคนสำหรับใช้ในการ ขุดเจาะ ก่อสร้าง/การดำเนินงานและการตรวจสอบ/ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่อาจจะเกิดขึ้น

เหล่านี้ เป็นประเด็นหลักสำหรับการคัดเลือกสถานที่ในเบื้องต้น


มูลเหตุที่ต้องเขียนเรื่องนี้ขึ้นมานั้น เกิดจากกรณีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ได้รับผลกระทบจาก แผ่นดินไหว และ สึนามิ ที่ฟุกุซิมาประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง ซึ่งเมื่อเราพิจารณากันห้ดีแล้ว ประเทศญี่ปุ่นเขาขาดแคลนพลังงาน อย่างไรเสียก้ต้องหาพลังงานมาให้ได้ แต่สภาพภูมิประเทศเป็นเช่นนั้น เขาไมาสมารถ เลือก ได้เลย ดังนั้นบริเวณที่เลือก จึงเป้นบริเวณ หรือ พื้นที่ ที่เสี่ยงน้อยที่สุด

เกณฑ์การคัดเลือกแม้จะแตกต่างกันไป เพราะเป็นโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ แต่คงเข้มข้นกว่าที่นำเสนอนี้อยู่หลายประเด็นทีเดียว

สิ่งที่เกิดขึ้น คือเหตุการณ์ทางธรรมชาติ ธรรมชาติที่ สุดที่มนุษย์ตัวเล็กๆจะรับมือได้ ธรรมชาติที่ สุดที่เทคโนโลยีจะต้านทานไหว ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดเจนว่า ในความพยายามที่จะระงับเหตุจึงกระทำไปตามสถานการณ์ของแต่ละแห่งๆไป

นอกไปจากนี้แล้ว โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่สร้างขึ้นนั้น ยังเป็นแบบ น้ำเดือด หรือ boiling water reactor(BWR) ซึ่งนับว่า แทบจะมี กัมมันตภาพรังสี จาก แกนเครื่องปฏิกรณ์ มาสู่กังหันเทอร์ไบน์ โดยไอน้ำโดยตรงเลยทีเดียว ซึ่งนับว่า เป็น ระบบ ที่มี ความปลอดภัย น้อยที่สุดในตัวเองอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อเกิดอุบัติภัยขึ้น จึงยากที่จะระงับให้สงบลงได้ อย่างที่ทราบกันดีอยู่

รอดูกันต่อไปว่า เขา, ญี่ปุ่น, จะจัดการกากกัมมันตรังสีได้อย่างไร อยากช่วยน่ะ อยาก แต่ ฝีมือยังไม่ถึงขั้นหรอก คนไทยน่ะ ถ้าว่าออกมาพูดว่าสามารถจัดการกากฯได้ ก็โอ้อวดคุณวิเศษ ที่ไม่มีในตัวแล้วหละ หากได้ไป ความรู้คงเพิ่มพูนขึ้นอีกมามายนัก แต่จะเอามาใช้ประโยชน์อะไรได้ เมื่ออายุก็ปาเข้าไปตั้งเกือบ ๖๐ แล้ว


ญี่ปุ่น เขามีที่ทิ้งกากฯ แต่ก็เชื่อยากว่า ได้ที่ที่เหมาะสม เพราะเมื่อพื้นที่เขาเต็มไปด้วยการสั่นไหว แล้วการได้สถานที่ที่เหมาะสม จะเกิดขึ้นได้ฤๅ เห็นใจในข้อนี้อยู่มาก

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

INES 7

ความรุนแรง ยกระดับรวดเดียว วูปเดียว ไปถึงระดับสูงสุด อันตรายมากสุด
ต่อแต่นี้ไป ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในภูมิภาคนี้ คงจะสุขสบาย สะดวกราบรื่นเป็นไม่มีอีกแล้ว

การออกแบบ การสำรองระบบ การป้องกัน การกู้ภัย การฯลฯ กับ สภาพที่เป็นอยู่ มันบอกได้เป็นอย่างดีว่า เจ้าของของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่แท้จริงนั้น, มิใช่ญี่ปุ่น, รับผิดชอบ มีจิตสำนึกอย่างไร เท่าไร หากเอาความจริงจากปากของคน ที่เขาเอ่ยออกมาว่า ฝรั่งประเมินคำว่า Tsunami คือ คลื่นอ่าว เป็นจริงแล้ว นั่นล่ะ ความฉลาดเฉลียวของเขา จิตใจของเขาที่มีต่อผู้คนในภูมิภาคนี้

ทุกข์ ของคนทั้งหลาย แต่ละคน ทุกข์นี้ ควรกำหนดรู้

เรากำหนดรู้อะไร เราทำความรู้นี้ให้กระจ่างรึยัง รึจะกำหนดรู้แบบที่ว่า Tsunami คือ คลื่นอ่าว กันอีกต่อไป

สถานการณ์ของ NPP ในแต่ละที่ตั้ง ย่อมไม่เหมือนกัน แต่ INES ที่กำหนดออกมาเองนั้น ย่อมเป็นเช่นเดียวกันตลอด ที่ เฌอโณบิล ระดับ INES ก้าวขึ้นสูงสุด ระดับ 7 แต่ที่ ฟุกุซิมะ มันค่อยๆก้าวไปงั้นรึ มันขึ้นอยู่กับเหตุ คือการควบคุม NPP ให้ได้ต่างหาก

งวดนี้ IAEA จะออกมาเสนอหน้าในแนวไหนกันอีก นักวิชาการ เขาย่อมกำหนดรู้ทุกข์

INES 7 ที่ไหนๆ ก็ไม่ต่างกัน ขอให้ระมัดระวังกันไว้บ้างน่ะ แต่ไม่ต้องถึงกับตื่นตระหนก ตกอกตกใจเป็นกระต่ายตื่นตูมไปน่ะ

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

hydroshpere

1986 atmosphere จากอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ เฌอโณบิล
2011 hydrosphere จาก อุบัติเหตุโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ ที่ฟุกุซิมะ