วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และ ความเคลือบแคลสงสัย: กากนิวเคลียร์

เรามาทำความจริงให้ปรากฏกันทีเถอะ น่ะ เกี่ยวกับ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ที่ชวนคุยวันนี้ ไม่ใช่เรื่องว่า จะมี จะไม่มีโรงไฟฟ้าอะไรหรอก เพราะในฐานะชาวบ้านคนหนึ่ง ก็ไม่ได้บริโภคพลังงานอะไรมากมายเลย แต่ขอให้มองกันกว้างๆว่า หากจะมี เรา ต้องรับผิดชอบ อะไรบ้าง เพราะถึงที่สุดแล้ว ประเทศชาติ ไม่ว่าชาติไหนก็ตาม หลีกไม่พ้นหรอก ที่ต้องหาพลังงานมาไว้ หากต้องพัฒนาประเทศขึ้นมา

นิวเคลียร์ เป็นพลังงานหนึ่ง ดังได้กล่าวมาแล้ว

ตกลงกันตามนี้ก่อน ตีกรอบกันตรงนี้ก่อน น่ะ

ก็แลเรื่องที่กังวลกันนั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่า ประสิทธิภาพของคนทำงาน กับ กากนิวเคลียร์ เพราะอย่างอื่น มาจากต่างประเทศ แต่ คน กับแท่งเชื้อเพลิง ที่จะกลายมาเป็น กากนิวเคลียร์ในภายหลังนั้น เราต้องดูแล

ดังนั้น กรอบที่เราจะพูดกัน มี ๒ เรื่อง คน กับ กากนิวเคลียร์ เน้าะ

ในเรื่องของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ที่มีอยู่ในธรรมชาตินั้น ก็มีให้รู้ ให้ดูเพื่อให้รู้ว่า ธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่จริงๆ สุดที่มนุษย์จะควบคุม หรือไปกำหนดกฏเกณฑ์อะไรเอาได้ ลิงค์ที่ให้ไว้นี้ เป็นตัวอย่างอันดี ที่คนในวงการนิวเคลียร์ เขาใช้เป็นแม่แบบในการศึกษา กากนิวเคลียร์ ก็เป็นหนึ่งในนั้น



เมื่อทราบ เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว ก็ควรจะเลิกกลัว เลิกสงสัยเสียได้ ในเรื่องของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

Happy nuclear year

ไกลปืนเที่ยง ก็ยังคุกรุ่นอยู่ แต่ ที่นี่จะมุ่งเน้นเรื่องของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์

ปีที่ผ่านมา ก็ได้ ช่วย สทน บ้าง แม้ไม่มากมาย แต่ ก็เต็มใจทำ

....ประเทศไทย มิใช่ประเทศอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ ที่จะมีขบวนรถไฟขนสินแร่จากเหมือง ไปยังโรงถลุงวันละหลายๆขบวน จึงไม่ต้องกังวลใจไปกับข้อที่ว่า เราจะมี กากนิวเคลียร์ เรามีเพียง การใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ทางสันติ เท่านั้น ซึ่งผลก็คือ ความเปรอะเปื้อนทางรังสีบนวัตถุ บนวัสดุต่างๆเท่านั้นเอง ซึ่งจะว่าไปแล้ว ก็เป็นเพียง ความกังวลใจของผู้ใช้สารรังสี มิใช้กากกัมมันตรังสี โดยแท้จริงนัก....

.....หากท่านสงสัยว่า นี่เป็นกากกัมมันตรังสีหรือเปล่า ก็ให้ส่งมาเป็นกากกัมมันตรังสีเถิด....

....spent sealed sources นั้น เรามีนโยบายนำส่งคืนกลับผู้ผลิต เพราะเราไม่ต้องการให้สยามประเทศ หรือเมืองไทยอันเป็นที่รักของเรา กลายเป็นแหล่งทิ้งสารรังสีไม่มีเจ้าของ (orphan sources) ไป

...แท่งเชื้อเพลิงที่ใช้งานแล้วนั้น หากมองว่ามีค่า อยากมากที่ทำได้คือเก็บรักษาไว้รอเทคโนโลยีที่ปลอดภัย สะอาด ในการนำส่วนที่ยังไม่ได้ใช้งาน กลับมาใช้อีก เราเพียงแต่รอ รอเท่านั้น....

....แท่งเชื้อเพลิงนั้น หากมองว่าไม่มีค่า เราก็เก็บรักษาไว้ เพื่อรอสถานที่ทิ้งที่เหมาะสม และ ปลอดภัย....

อันตรายจะมีได้ ก็ต่อเมื่อ เราอุตริ ไปกอดแท่งเชื้อเพลิงไว้แนบแน่น ราวกับกอดคนรักฉะนั้น เท่านั้นเอง ตราบเท่าที่เราไม่ทำเช่นนั้น เราอยู่ห่างๆด้วยสติ ด้วยปัญญา อันตรายจะมีมาจากไหน ในสภาวะปกติทั่วๆไป.....

เหล่านี้ คือสิ่งที่ นาคหอม ได้บอก ได้เล่าให้กับแขกผู้มีเกียรติทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม สทน ทุกครั้งไป

็ฟยยั ืีแสำฟพ ัำฟพ

ความเข้าใจที่ถูกต้อง การยอมรับความจริงเท่านั้นจึงจะแก้ปัญหาต่างๆได้