วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

poll เรื่องโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์

มีผู้มีพระคุณท่านแนะมาให้ ว่า ให้บอกรายละเอียด หรือ ขอบข่ายของคำสักนิดหนึ่ง ที่ว่า ไม่รู้เลย-รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง-รู้ดี นั้น เป้นยังไง
ก็ขอขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้ เป้นเบื้องต้น กับคำแนะนำอันมีค่านี้

มะไฟ ก็ไม่ได้กำหนดไว้ชัดหรอก ว่าต้องมีเส้นเขตปักปันดินแดร ถึงขนาดเอาสันเขาปันน้ำ หรือ หากตกลงกันไม่ได้ ต้องมี jbp เอ้ย เจบีซี ขึ้นมา ยังครับ ยังไม่วุ่นวายขนาดนั้น เอาแต่เพียงว่า
  1. ไม่รู้เลย นี่คือ ไม่รู้อะไรจริงๆ รวมทั้ง งูๆปลาๆ ก็นับเข้ากลุ่มนี้ด้วย ประเภทฟังข่าว จาก อาจารย์เช้าวันนี้ท่านเล้คเช่อร์ แล้วเข้าใจไปตามนั้น ก้นับเข้าในกลุ่มนี้ด้วยย
  2. รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง คือ พวกนักเรียน นักศึกษา ที่อย่างน้อยเรียนจาก มช. บ้าง เรียนจาก จฬ. (นิวเคลียร์เทคฯ) บ้างคือ พวกที่เรียนมาจากเมืองไทย เรียนมาจาก อุสา หรือ USA หรือ USSR เดิม หรือจากต่างประเทศอื่นๆ รวมไปถึงที่ได้ ดีกรี ดร. มาด้วย ก็จัดเข้ากับกลุ่มนี้ครับ
  3. รู้ดี อันนี้ เอาพวก โน่นแนะ เอ็นริโก้ เฟอรมาย, ไอนสไตน์, ฟายแมน กับพวกอุตสาหกรรมนิวเคลียร์นั่นแหละ คือมันรู้ไปหมด (ยกเว้น Tsunami น่ะ ที่มันรู้ว่าเป็นแค่ bay wave อย่างที่บอกผมมา) พวกที่สร้าง ชิคาโก้ไพล์แดชวัน อะไรนั่นแหละ อืมม พวกที่ยุ่งขิงกับ vver อยู่ด้วยซี เน้าะ
แต่ก็อย่างว่า ขอบเขตของการแบ่งกลุ่ม ไม่ได้ชัดเจนอะไร ที่อยากรู้จาก poll จริงๆคือ สัดส่วนของ กลุ่ม ไม่รู้ กับ รู้ จะเป็นเท่าไร และในกลุ่มรู้นี้ ที่ รู้บ้าง-ไม่รู้บ้าง กับ ที่บอกมาว่า รู้ดี นั้น เป็นเท่าไหร่ คือ อย่างน้อย ถ้าเมืองไทยจะมี NPP กับเขาแล้ว คน ที่จะทำงานด้านนี้ของเรา เอาแค่ รู้บ้าง-ไม่รู้บ้าง เนี่ย มีพอรึเปล่า เท่านั้นเอง อย่างน้อยก็ รู้เรา เน้าะ

อีกครั้ง ขอขอบพระคุณ ท่านที่ให้คำแนะนำอันมีค่ามา

รบกวนด้วยน่ะขอรับ

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

แบบจำลอง การเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฯ

เอาแบบจำลองฝึกหัดควบคุมโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์มาให้ได้ดูกันเล่นๆ ก็ ที่นี่ แหละ ลองเข้าไปดู

เขาจำลองไว้ ๓ แบบ ให้เราทดลอง เดินเครื่องฯ ดู โดยที่
  1. แบบแรก หรือ sequence 1 นั้น กำหนดให้เกิดระเบิดตรง เทอไบน์ ถ้าเราไม่ควบคุมสภาวะต่างๆให้ดี
  2. แบบที่ ๒ กำหนดให้ ปั้มไม่ทำงาน และ
  3. แบบที่ ๓ กำหนดให้ ปั้มน้ำหล่อเย็นนั้นไม่ทำงาน
เรามีหน้าที่ให้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์นี้ ดำเนินไปได้ด้วยดีโดยไม่ให้เสียหาย

แกนเครื่องปฏิกรณ์ฯนั้น สามารถดึงขึ้น-ลง ได้

ระบบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ง่ายๆนี้ มีเพียง ปั้ม ๓ ตัว วาวปิดเปิด ๔ ตัว และเครื่องปั่นไอน้ำสำหรับกำเนิดกระแสไฟฟ้า ๑ เครื่อง ส่วนเครื่องปฏิกรณ์ฯ มีหน้าที่ต้มน้ำให้เดือด เพื่อให้ได้ steam ไปปั่น turbine เท่านั้นเอง

ลองดูน่ะ

ถามหน่อยน่ะ ปั้มน้ำที่ว่า พังทั้ง ๑๓ ตัว ที่ฟุกุชิมานั้น เป็นตัวไหนในรูป และที่พยายามต่อไฟฟ้าให้ปั้มทำงานได้อีกนั้น ต่อเข้าปั้มชุดไหน

เว้ปนี้ ได้มานานแล้ว ร่วมสิบปีแล้วมั้ง ในครั้งนั้นกำลัง เล่น เรื่อง simulation อยู่ ก็ควานหาคำว่า simulation กลับมาเจอเว้ปนี้โดยบังเอิญ แต่ก็ได้ประโยชน์ เพราะถัดมาไม่นานก็ ดู เล่น กะเอาจริง ทั้ง expert system, knowledge based etc, อะไรพวกนี้ ... แต่

ได้แค่นี้เอง

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

Annual effective dose limit

ค่าตัวเลข ค่าคงที่ ที่ ไม่รู้ว่าจะรู้ไปทำไม ถ้า ไม่มีเหตุให้ต้องใช้มัน ดูๆไปแล้ว ก็น่าสงสาร เน้าะ

ก็พวกค่า anuual dose rate ที่ได้รับต่อปี ซึ่งเราจำเป็นต้องรู้ในตอนนี้นี่แหละ ในหัวข้อที่ผ่านมา ไปได้ตารางของเพื่อนบ้าน ญี่ปุ่น ที่เขากำหนดขึ้นมาใช้ในประเทศเขา ก็ให้สงสัยว่า เออ เขาประกาศใช้ แล้ว มันค่าเดียวกับที่เราเคยรู้รึเปล่า

มันเป็นความรับผิดชอบของ member state น่ะ ที่ต้องประกาศใช้ให้สาธารณะรับรู้ มันเป็นความรับผิดชอบของ member state นี่ที่ต้องก่อตั้ง regulatory body ขึ้นมา และ ค่าต่างๆเหล่านี้ รวมทั้ง licensing process นี่แหละ คือความรับผิดชอบ หรือ หน้าที่หลักๆ ของ regulatory body ล่ะครับ

ค้นไป ค้นมา ก็ทราบความจริงว่า ค่าเหล่านั้น หรือ ความรู้ของ มะไฟ ยังคงทันสมัยอยู่ กล่าวคือ สำหรับ workers แล้ว
  1. จำนวน dose ที่ได้รับมีค่าเฉลี่ยต่อปี ในระยะเวลา ๕ ปีติดต่อกัน เท่ากับ ๒๐ mSv
  2. จำนวน dose ที่ได้รับสูงสุดในปีใดปีหนึ่ง ต้องไม่เกิน ๕๐ mSv
ส่วนชาวบ้านทั่วๆไปนั้น ยังคงค่าเดิมคือ ปีละไม่เกิน ๑๐๐๐ µSv

ก็นำเสนอ เพื่อให้เพื่อนๆ ได้รับรู้ไว้ จะได้ไม่ตกใจไป

เอกสารอ้างอิงก็มาจาก
  1. Dr. Jas S Devgun; IAEA Interregional Training Course on 'Management of Radioactive Wastes from NPP' ; Aug 23- Sep 17 1993
  2. T.N. Krishnamurthi; ENFORCEMENT OF RADIATION SAFETY STANDARDS AND EXPERIENCE IN THE REGULATORY CONTROL OF EXPOSURES; IAEA-CN-67/157
  3. สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ; ศัพทานุกรมนิวเคลียร์
  4. จรูญ วรวาส; ติดต่อส่วนตัว (ระหว่างเล่นหมากรุกฝรั่ง ช่วงเที่ยง ก็ซักถามกัน ๒-๓ คำ)
  5. สมชาย พงษ์เกษม; ติดต่อส่วนตัว
  6. ดร. ธงชัย สุดประเสริฐ; ติดต่อส่วนตัว
ก่อนจาก มีของแถม จากคราวที่ไปอบรมฟื้นฟูฯ ที่กาญจน์บุรี ๒๕๕๑ นู้น โดย ดร. จารุณีย์ ทองผาสุก ท่านแนะไว้ว่า โรคทางรังสี มันไม่มีอาการใดใดบ่งบอก เหมือนโรคอื่น หรือ อาการอื่น (แถมมาเอง เช่น คนรักกัน ชังกัน ยังดูที่สีหน้าได้) แต่ท่านแนะว่า ถ้าท้องเสียรุนแรง ให้รีบระวังตัว ไปตรวจสุขภาพ ซะ

อืมม อีกนิดน่ะ annual dose เนี่ย เขาใช้คำว่า ปริมาณรังสีรอบปี ส่วน effective dose นั้น เขา ใช้คำไทยว่าปริมาณรังสียังผล อีทีนี้ ถ้าว่ามันเป็น annual effective dose limit ที่ใช้ในนี้ล่ะ จะใช้คำไทยว่าอะไรดี
  1. ปริมาณรังสียังผลรอบปี จำกัด หรือ
  2. ค่าจำกัดของปริมาณรังสียังผลรอบปี หรือ
  3. ค่าสูงสุด ปริมาณรังสียังผลรอบปี หรือ
  4. ...
เห็นรึยังล่ะว่า นี่แค่คนเดียว ยังมีหลายความเห็น คนอื่น เขาจะไปยอมให้ใช้คำที่เสนอโดยคนคนนี้ล่ะรึ หือ ต่างเห็นสมควร ปรับ แก้ เพิ่ม ลดไป คริคริ
dose ที่เขียนในที่นี้ หมายเอาคำเต็มๆของฝรั่ง ที่ขึ้นชื่อไว้แล้วน่ะครับ

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ และอุบัติภัยธรรมชาติ

โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ ที่เกิดอุบัติเหตุระดับ ๔ ขณะที่กำลังเขียนยังอยู่ระดับ ๔

ยังนับว่า โชคดี ที่แม้ความรุนแรงที่ปรากฏให้เห็น แต่ระดับของ INES นั้นก็ยังคงทรงอยู่ และ ขยับมาเพียง ระดับ 5 เท่านั้นเอง บางท่านอาจสงสัย หรือ ป่านนี้อาจจะหาความรู้เรื่อง INES ได้แล้วก็เป็นได้ ก็ยังคงขอเริ่มที่ INES กันก่อน เอกสารที่แนบมาให้นี้ นำมาจาก IAEA โดยที่เขาแบ่งระดับเอาไว้เพียง สาม (๓) ระดับเท่านั้น คือ ระดับ ๐ กับอีก ๒ กลุ่ม โดยแบ่งจากความรุนแรงน้อยไปหามาก ดังนี้
  1. incident
  2. accident
โดยกำหนดเอาว่า ถ้ามีคนตาย อย่างน้อย ๑ คน จึงจะถือว่าเป็น accident

บางท่าน อาจจะสงสัยว่า เจ้าระดับ ๐ นี่ มันมีมาทำไม ก็เพียงแต่ขอให้คิดเอาง่ายๆว่า เบื้องต้น ขอให้นึกกันว่า การทำงาน ถือเอาว่า ทำงานปกติทั่วๆไป กับ การทำงานในสภาพ ผิดปกติ ที่ต้องมีกฏ ระเบียบ มาตรการกำกับควบคุม เข้มข้นขึ้น

ระดับ ๐ คือเส้นแบ่งระหว่าง การทำงานในสภาพปกติ และ การทำงานในสภาพผิดปกติ

การจำแนกสถานะนี้ สำคัญมาก เพราะในสถานะผิดปกติ หรือ สภาพการทำงานที่ผิดปกตินั้น สายการบังคับบัญชา จะเปลี่ยนไปแทบหมดจากเดิมโดยสิ้นเชิง และการกำหนด ภาวะ ปกติ/ไม่ปกติ นี้ ต้องรัฐเท่านั้น เป็นผู้กำหนด และ รัฐเอง ก็ต้องได้รับแจ้งเหตุมาก่อนแล้วเท่านั้น จึงจะกำหนดและ ประกาศภาวะนี้ขึ้นมา

ส่วนที่ว่า รัฐ จะมอบหมายให้ ใคร เป็นผู้บริหารเหตุการณ์ หรือ บริหารภาวะผิดปกติ นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ ความรับผิดชอบต้องตกอยู่กับรัฐ จะบ่ายเบี่ยงไปไม่ได้

อ้อๆๆ รัฐ ในที่นี้หมายถึง member states ที่เป็นสมาชิกของ IAEA น่ะคร้าบบบ

เหตุ และการแจ้งเหตุ จึงสำคัญมาก

INES ระดับ incident นั้น ภาษาไทย เขาใช้คำว่า เหตุขัดข้อง ส่วน ระดับ accident นั้น ใช้คำว่า อุบัติเหตุ ความแตกต่าง เอากันแบบชาวบ้านๆ น่ะว่า ถ้าเป็น เหตุขัดข้อง ก็หมายเอาว่า ยังพอแก้ไขให้การทำงาน สามารถเกิดขึ้นได้ต่อไป แต่ถ้าเป็น อุบัติเหตุ นั่นก็ต้องมี การระงับเหตุมาประกอบด้วยยยย นอกจากว่า มีความสูญเสียเกิดขึ้นแล้ว

ความรุนแรงนั้น เพิ่มขึ้นเป็น ๑๐ เท่า เมื่อ scale เพิ่มไป ๑ ระดับ

ขอบข่ายความเสียหาย ระดับ ๔ นั้นยังคงจำกัดยู่แต่ใน แหล่งนั้นๆ ฟุ้งกระจาย ขยายวงกว้าง จนกระทั่งระดับ ๗ ที่ ตัวอย่างที่เห็นคือ เฌอโณบิล ตัวอย่าง ที่เพิ่งได้มา ลองๆไปอ่านเอาเองน่ะครับ หากสงสัยประการใด โปรดถามมาได้

รูปข้างๆนี้ ก็เพิ่งได้มาด้วยเช่นกัน นานๆ มาดูที ก็สับสน แต่ก็ให้ดูตรงที่วงแดงๆเอาไว้ด้านขวาของรูปนั้นเอาเป็นหลักก็แล้วกัน น่ะ

เอากันง่ายๆ แบบชาวบ้านๆน่ะ ไม่ชอบวิชาการ เพราะการให้คำจัดกัดความ หรือ ให้ความหมาย หรือใช้คำไทย นั้น บอกได้ว่า เอือมระอา ก็แค่คำว่า air conditioner เรายังใช้ว่า เครื่องปรับอากาศ และหลักในการ ใช้ภาษาไทยกับภาษาต่างประเทศคือ ถ้าว่ามีคำไหนใช้อยู่แล้ว ให้เอามาใช้ด้วย แล้ว ทำไมคำว่า conditioning ถึงได้ใช้เป็น การแปรสภาพ ไปซะงั้น

อ้าว เอามาบ่นปนกันได้ไงเนี่ย
ซุมาเต้อะ เจ๊าาาาา