วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Near surface disposal

วันนี้ ใคร่ขอกล่าว หรือ เล่าถึง concept ของการทิ้งกากฯลงใน facilities แบบนี้ คือแบบที่เรียกว่า near surface disposal นี่แหละ

เรื่องราวมันกว้าง มันมาก ทั้งกว้าง ทั้งมาก กระทั้งว่า เกินที่คนคนเดียว จะกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ภายในระยะเวลา อันจำกัดจำเขี่ย นอกเหนือไปจาก ความจริงที่ว่า สาระของเรื่องราวเอง นั้น มันก็มีการปรับขึ้น ทุกเวลาที่ผ่านไปด้วยเช่นกัน อย่างไรก็จะขอนำเสนอ เท่าที่ยังพอมีเรี่ยวแรง ยังพอมีสติอยู่

  1. ตัวอย่างต่อไปนี้ ถือว่าเป็น ทางเลือก ของ facilities สำหรับทิ้งกากกัมมันตรังสี คือ
    • หลุมขุดธรรมดาๆ ที่มี ฝาปิด โดยที่ ฝา นั้นมีโครงสร้างทางวิศวกรรม
    • หลุม ที่มีดินเหนียว หรือ พลาสติกรองพื้น
    • หลุมคอนกรีต ซึ่งชัดเจนว่า เป็นหลุมที่มนุษย์สร้างขึ้นมาโดยทางวิชาวิศวกรรม
    • ถ้ำ ตามธรรมชาติ หรือ มนุษย์เจาะขึ้น

  2. near surface disposal นั้น เป็นทางเลือกสำหรับการทิ้งกากกัมมันตรังสี
    • กากกัมมันตรังสีระดับต่ำ
    • ที่ไม่ใช่ กากกัมมันตรังสีระดับต่ำ ครึ่งอายุยาว
    • ที่ไม่ใช่ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้งานแล้ว
    • ที่ไม่ใช่ กากกัมมันตรังสีในรูปแบบของแท่งแก้ว จากโรงงานแปรสภาพเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้งานแล้ว
    • ที่ไม่ใช่ เรเดียม ที่ยกเลิกการใช้งานแล้ว

  3. ลักษณะสำคัญของ แหล่ง สำหรับใช้เป็นที่ทิ้งกากกัมมันตรังสี คือ
    • มั่นคงพอเพียงที่จะรองรับโครงสร้างทางวิศวกรรม
    • รู้เรื่องของ น้ำผิวดิน และ น้ำใต้ดิน
    • Latitute ของ แหล่ง นั้นๆ
    • โอกาส ที่สามารถดำเนินงานตรวจสอบได้

  4. ในเรื่องของ institutional control นั้น
    • สามารถเป็นได้ทั้ง active และ passive
    • สามารถดำเนินการได้โดยการจำกัดการใช้พื้นที่
    • สามารถรวมการตรวจสอบเข้าไปด้วยก็ได้
    • มีผลต่อ เกณฑ์การยอมรับผลิตภัณฑ์กากกัมมันตรังสี
    • ไม่จำต้อง คงทนอยู่ได้เป็น พันปี

  5. ความปลอดภัยของ facilities นี้ เกิดขึ้นจาก
    • การจำกัดชนิดของกากฯ ที่จะนำมาทิ้ง
    • โครงสร้างทางวิศวกรรม
    • คุณลักษณะของ แหล่ง ทิ้งกากฯ
    • institutional control
    • แต่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัน เดือน ปี ของการเริ่มการดำเนินงานก่อสร้าง

ขอพักไว้ก่อน ยังไม่จบ